คอนกรีตผสมเสร็จ

รู้จักกับคอนกรีตผสมเสร็จเบื้องต้น

     คอนกรีตผสมเสร็จ คือ คอนกรีตสำเร็จที่ผสมเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้ โดยมีส่วนผสมของ ซีเมนต์ผง หิน ทราย น้ำและน้ำยาผสมคอนกรีต ในอัตราส่วนที่เหมาะสมตามมาตรฐาน ค่ากำลังอัดประลัยมีหน่วยวัดเป็น Cube (ทรงลูกบาศก์) หรือ Cylinder (ทรงกระบอก)

     คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป (Normal Concrete) เป็นคอนกรีตที่ใช้สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลัดอัดประลัยที่อายุ 28 วัน ตามมาตรฐาน มีส่วนผสมของสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว เช่น คาน เสา พื้น เป็นต้น

     คอนกรีตสำหรับงานปั๊ม (Pumping Concrete) เป็นคอนกรีตที่มีความเหลวกว่าคอนกรีตทั่วไป ซึ่งใช้สำหรับเทคอนกรีตผ่านเครืองลำเลียงคอนกรีต เช่น รถปั๊มคอนกรีต

     คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะ (Bored Pile Concrete) เป็นคอนกรีตที่ออกแบบมามีการผสมด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต

     มอร์ต้า (Mortar) เป็นคอนรีตพิเศษที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ น้ำยาหน่วง เพราะไม่มีส่วนผสมของหิน ส่วนมากจะใช้ในการหล่อลื่นในการยิงปั๊มหรือใช้สำหรับปรับพื้นผิวให้เรียบ หรืออาจใช้ในการก่อ/ฉาบได้

     คอนกรีตผสมน้ำยากันซึม (Waterproof Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาพิเศษมีความทึบน้ำมากกว่าคอนกรีตปกติ เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับการเก็บกักน้ำ เช่น สระว่ายน้ำ หรือดาดฟ้า เป็นต้น

     คอนกรีตสำหรับงานพื้นโพสเทนชั่น (Posttension Concrete) เป็นคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดช่วงต้นสูง พัฒนากำลังอัดในช่วงอายุ 3 – 7 วัน ส่วนมากใช้สำหรับงานเทพื้นที่มีขนาดใหญ่ และต้องการความรวดเร็ว ซึ่งคอนกรีตชนิดนี้สามารถเซ็ทตัวได้เร็วกว่าคอนกรีตทั่วไป

     คอนกรีตกำลังอัดสูง เป็นคอนกรีตที่มีความแข็งตัวเร็วกว่าคอนกรีตทั่วไป เหมาะสำหรับงานเร่งด่วน เช่น งานถนน ลานจอดรถ โดยมีกำลังอัดตั้งแต่ 240 ถึง 280 กก/ชม. ที่อายุ 8 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง

     คอนกรีตท็อปปิ้ง (Topping Concrete) เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบให้ส่วนผสมคอนกรีตมีความละเอียดมากกว่าคอนกรีตปกติ ค่ายุบตัวมากกว่าสำหรับงานคอนกรีตทั่วไป เหมาะสำหรับงานเทพื้น แผ่นพื้นสำเร็จ หรือเทปรับระดับพื้น

     คอนกรีตทนซัลเฟต คอนกรีตที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการต้านทานความเสียหายจากซัลเฟต ด้วยหลักการลดสารประกอบบางอย่างในคอนกรีตที่ทำปฎิกิริยากับซัลเฟต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และออกแบบให้คอนกรีตมีเนื้อแน่น เพื่อต้านทานการซึมผ่านของซัลเฟต โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีสารซัลเฟต เช่น ในดิน น้ำใต้ดิน น้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม

     คอนกรีตห้องเย็น คอนกรีตที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความสามารถในการต้านทางการแตกร้าว ที่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำในคอนกรีต อีกทั้งยังมีความทนทานต่อการขัดสีที่ผิวหน้า จากการใช้งานของรถขนถ่ายสินค้า (Fork Lift) คอนกรีตงานห้องเย็น จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับงานห้องเย็น ห้องแช่แข็ง และ ห้องปรับอุณหภูมิ ซึ่งสามารถทนต่ออุณหภูมิติดลบ ได้ถึง -40 องศาเซลเซียส